Author: <span>MJ</span>

รายงานพิเศษ : สุขแบบภูฏานด้วยเศรษฐกิจพอเพียง เยี่ยงแนวทางพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศ

ท่ามกลางกระแสโลกาภิวัฒน์ การพัฒนาทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยี ทำให้มนุษย์มุ่งไปสู่การเสาะแสวงหาความสุขทางวัตถุมากขึ้น แต่ในเมื่อทรัพยากรนั้นมีอยู่อย่างจำกัด กับประชากรโลก กว่า7 พันล้านคน คงไม่สามารถเติมเต็มความต้องการของทุกคนให้ถึงจุดที่สุขสูงสุดได้ ไม่นับความต้องการที่ไม่สิ้นสุด ประหนึ่งคนที่ไม่เคยพอใจกับปัจจุบัน เมื่อมีก็อยากมีมากกว่า เมื่อได้ใหม่มาก็ยังอยากได้ที่ใหม่กว่าอีก ความเจริญทางเศรษฐกิจจะอาจจะวัดด้วยดัชนีผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (Gross Domestic Product: GDP) นั่นทำให้ทุกคนต้องแก่งแย่งแข่งขัน เพื่อให้ได้เป็นผู้ชนะ หรือได้ยืนอยู่ในจุดที่ได้เปรียบในระบอบทุนนิยม แต่ในที่นี้ เราไม่ได้จะมาตำหนิ หรือชี้นำให้หันหลังแก่ระบบของโลก หากแต่ยังมีอีกความสุขหนึ่งที่เป็นความสุขทางจิตใจ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับราคา เป็นความสุขที่เรียกว่า “สุขอย่างพอเพียง” ในปี พ.ศ. 2515 สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี ซิงเย วังชุก กษัตริย์ลำดับที่ 4 แห่งราชวงศ์วังชุก ผู้ปกครองประเทศภูฎาน ทรงประดิษฐ์วลีที่แสดงความมุ่งมั่นในการสร้างเศรษฐกิจบนวัฒนธรรมที่มีพื้นฐานของคุณค่าจิตวิญญาณทางพุทธ แทนที่ค่านิยมการพัฒนาแบบตะวันตก เรียกสิ่งนั้นว่า “ดัชนีความสุขมวลรวมประชาชาติ” (Gross National Happiness: GNH) ซึ่งปัจจุบันนี้แนวความคิดนี้ก็ได้แพร่หลายออกไปทั่วโลก แนวคิดจีเอ็นเอช ได้กลายเป็นแรงบันดาลใจในการเคลื่อนไหวด้านความสุขสมัยใหม่ผ่านผลงานของนักการศึกษา …